ทำงานล่วงเวลา นายจ้างต้องจ่ายเพิ่มเท่าไร ?

  • 23 พ.ค. 2566
  • 1633
หางาน,สมัครงาน,งาน,ทำงานล่วงเวลา นายจ้างต้องจ่ายเพิ่มเท่าไร ?

ให้ลูกจ้างทำโอที ไม่ใช่ว่าจะจ่ายเท่าไรก็ได้นะคะ พนักงานแต่ละคนอาจได้รับไม่เท่ากันด้วย เพราะจะขึ้นอยู่กับค่าจ้างในวันทำงานปกติ และจำนวนชั่วโมงที่ทำโอที มาดูพร้อมกันเลยค่ะ

 

การจ่ายค่าจ้างสำหรับทำงานล่วงเวลาในวันทำงานปกติ ต้องไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงที่ได้รับจากการทำงานในเวลาปกติ

 

เช่น เงินเดือน 40,000 บาท เวลาทำงานปกติ คือ 8.00 น. - 17.00 น. พักเที่ยง 1 ชั่วโมง (ทำงานปกติ 8 ชม.) นายจ้างให้ทำงานล่วงเวลาตั้งแต่ 18.00 น. - 20.00 น. (ทำงานล่วงเวลา 2 ชม.)

 

1 นำเงินเดือนมาหารเป็นรายวัน 40,000 /30 = 1,333.33 บาท

 

2 นำค่าจ้างรายวันมาหารเป็นรายชั่วโมง ยึดจากจำนวนชั่วโมงที่ทำงานปกติ 1,333.33/8 = 166.66 บาท

 

3 นำค่าจ้างรายชั่วโมง มาคูณอัตราค่าทำงานล่วงเวลา 166.66 *1.5 = 249.99 (ขอปัดเป็น 250 บาทเลยนะคะ)

นั่นคือ ลูกจ้างจะได้รับค่าทำงานล่วงเวลา 250 บาท/ชั่วโมง

 

4 นำค่าทำงานล่วงเวลาต่อชั่วโมง มาคูณกับจำนวนชั่วโมงที่ทำงานล่วงเวลา 250*2 = 500 บาท คือจำนวนที่ลูกจ้างจะได้รับจากการทำงานล่วงเวลา

 

นอกจากนี้ ถ้าเป็นการทำงานในวันหยุด เช่น วันหยุดประจำสัปดาห์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ จะมีอัตราที่ต่างกันไปนะคะ แต่จะใช้วิธีคำนวณเช่นเดียวกับตัวอย่างข้างต้นเลย และเมื่อได้ค่าจ้างรายชั่วโมงมาแล้ว ให้นำมาคูณกับอัตราค่าทำงานตามกรณีนั้น ๆ ค่ะ ได้แก่

 

กรณีลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด (เช่น พนักงานเงินเดือนทั่วไป)

ต้องไม่น้อยกว่า 1 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงาน

 

กรณีลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด (เช่น พนักงานที่รับค่าจ้างเป็นรายวัน)

ต้องไม่น้อยกว่า 2 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงาน

 

กรณีให้ทำงานล่วงเวลาในวันหยุด

ต้องไม่น้อยกว่า 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงาน

 

ขอบคุณข้อมูล : ทนายฝ้าย ยิ่งพร อินทร์ศรีชื่น (วิทยากร และทนายความที่ปรึกษาด้านแรงงานและ PDPA)

https://www.facebook.com/labourlawclinique/

หางานตามสาขาอาชีพ

JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved

jobbkk มีเพียงเว็บเดียวเท่านั้น ไม่มีเว็บเครือข่าย โปรดอย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้าง และหากผู้ใดแอบอ้าง ไม่ว่าทาง Email, โทรศัพท์, SMS หรือทางใดก็ตาม จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด DBD

Top